นศ.พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง นำของเหลือใช้ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีดีไซน์จำหน่ายได้จริง

นศ.พระจอมเกล้าฯลาดกระบัง นำของเหลือใช้ ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีดีไซน์จำหน่ายได้จริง

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวนกว่า 70 คนจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้นำเสนอผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสิ่งของเหลือใช้ซึ่งเก็บรวบรวมได้จากพื้นที่บริเวณรอบปากน้ำปราณให้แก่ผู้นำชุมชน 


โครงการนิสสัน 'แค่ใจก็เพียงพอ' เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2560 และมีการสานต่อโครงการเป็นปีที่สองในปีนี้ ที่ได้มีความแตกต่างไปจากปีแรก โดยได้ริเริ่มการนำเอาคนรุ่นใหม่ คือ กลุ่มนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็นหกกลุ่มทำการออกแบบและสอนขั้นตอนการทำผลิตภัณฑ์จากของเหลือใช้ในท้องถิ่นให้แก่คนในชุมชน

นักศึกษากว่า 70 คนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้แบ่งกันเป็นหกกลุ่มที่ชุมชนปากน้ำปราณและเข้าร่วมทำงานกับผู้แทนจากชุมชนในท้องถิ่นเพื่อเก็บของเหลือใช้แล้ว และวางแผนวิธีการออกแบบของเหล่านี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม จากนั้นพวกเขาจะร่วมกันถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และนำไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

“ดิฉันรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้ที่น้อมนำคำสอนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความคิดริเริ่มนี้จะช่วยลดปริมาณของเหลือใช้ ด้วยการออกแบบของเหล่านี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถจำหน่ายได้” วรรณอนงค์ เติมวัฒนางกูร นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ กล่าว “สิ่งนี้จะช่วยสร้างรายได้ที่มั่นคงสำหรับคนในชุมชนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว”

โครงการนี้อยู่ภายใต้การดูแลและแนะนำ ของอาจารย์ จารุพัชร อาชวะสมิต อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เห็นประโยชน์ของโครงการนี้ต่อนักศึกษาและต่อชุมชน

“การร่วมงานกับนิสสันครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาที่จะได้รับประสบการณ์จริงที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้จากในห้องเรียน นักศึกษาไม่เพียงแค่เรียนรู้วิธีการคัดแยกของเหลือใช้สำหรับการออกแบบของเหล่านี้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม แต่พวกเขายังได้รับประสบการณ์ตรงจากการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปจำหน่ายได้โดยชุมชนปากน้ำปราณ”อาจารย์ จารุพัชร กล่าว

นักศึกษาได้นำเสนอผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่อผู้นำชุมชน โดยตัวอย่างของผลงานเหล่านี้ได้แก่ โคมไฟประดับที่ทำจากอวนจับปลาที่ถูกทิ้ง กระเป๋าที่ถักจากกะลามะพร้าว เชือก รวมถึง รองเท้าแตะที่ทำจากพลาสติกที่รีไซเคิลจากขวดน้ำ นอกจากนี้มีการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เครื่องประดับ และอุปกรณ์อื่น ๆ อีกมากมาย

นักศึกษาได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งของเหลือใช้ที่พบและรวบรวมระหว่างการลงพื้นที่ปากน้ำปราณที่ผ่านมา อีกทั้งการได้พบปะและพูดคุยกับสมาชิกของชุมชนระหว่างการลงพื้นที่ครั้งนั้น

ธัญชนก เกียรติโอภาส นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า พวกเขาได้เรียนรู้อย่างมากจากโครงการนี้ “คิดว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักศึกษาอย่างเราที่จะได้รับประสบการณ์ในชีวิตจริงและพวกเราเองต้องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง ที่สามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจให้ชุมชนอย่างยั่งยืน”

ปีเตอร์ แกลลี รองประธาน สายงานสื่อสารองค์กร นิสสัน มอเตอร์ ประเทศไทย แสดงความยินดีและชื่นชมที่นักศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ พร้อมความตั้งใจและความมุ่งมั่นในการทำงานอย่างหนัก “ผมรู้สึกประทับใจทั้งคุณภาพของผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาคิดค้นขึ้นรวมถึงความคิด ความพยายาม ความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียที่จับต้องได้ที่เหล่านักศึกษาใส่ลงไปในผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ โดยออกแบบให้ของเหลือใช้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ผมได้เห็นนั้น มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นสินค้าของชุมชนเพื่อนำไปจำหน่าย และสร้างรายได้ให้กับชุมชน”

ผู้นำชุมชนยังชื่นชมนักศึกษาสำหรับความมุ่งมั่นและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา “ผมรู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่งกับผลงานต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาคิดค้นขึ้นโดยใช้ของเหลือใช้ที่รวบรวมได้จากพื้นที่นี้” สมเดช นาคดี ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลนและสิ่งแวดล้อมบ้านคลองเก่า (ทสม.) กล่าว “มันเป็นแรงบันดาลใจให้กับพวกเราชุมชนปากน้ำปราณ เพราะน้องๆ นักศึกษามีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาสิ่งที่สวยงามซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับผู้คนในชุมชนของเรา”

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line