AWEN ผนึกกำลัง 10 ประเทศอาเซียน ดัน 7 ยุทธศาสตร์เพื่อเสรืมสร้างพลังสตรี

AWEN ผนึกกำลัง 10 ประเทศอาเซียน ดัน 7 ยุทธศาสตร์เพื่อเสรืมสร้างพลังสตรี

เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล หรือ ASEAN Women Entrepreneurs Network (AWEN) โดยคุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน อังอุบลกุล ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล 2018-2020 และประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนประเทศไทย (AWEN – Thailand) ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นเจ้าภาพการจัดประชุมใหญ่ AWEN ประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 19-22 มิถุนายน 2562 เพื่อร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อน 7 ประเด็นยุทธศาสตร์ในการพํฒนาบทบาทและเสริมสร้างพลังสตรีทางเศรษฐกิจในประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ พร้อมจัดงานเลี้ยงรับรอง เพื่อแสดงความขอบคุณผู้แทนและสมาชิกเครือข่าย AWEN สากลพร้อมทั้งแสดงความยินดีอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ประกอบการสตรีอาเซียนจาก 10 ประเทศสมาชิก เกือบ 100 ท่าน ที่ได้รับรางวัลผู้ประกอบการสตรีอาเซียนดีเด่นประจำปี 2562 ที่โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ


คุณหญิงณัฐิกา กล่าวว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธาน เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล หรือ ASEAN Women Entrepreneurs Network (AWEN)ชึ่งเป็นเครือข่ายที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี หรือ ASEAN Committee on Women (ACW) โดยมีวาระการบริหารงาน 2 ปี (เดือนพฤษภาคม 2561 - พฤษภาคม 2563) ซึ่งคาบเกี่ยวกับช่วงที่ประเทศไทย เป็นประธานอาเซียนในปี 2562  ทำให้ AWEN มีโอกาสในการพัฒนาและเพิ่มบทบาทของผู้นำสตรีไทยในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอาเซียน ชึงกล่าวได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้กว่า 400 คน สะท้อนให้เห็นถึงพลังการทำงานของ AWEN ในรูปแบบเครือข่ายเพื่อส่งเสริมสถานภาพสตรีในภาคเศรษฐกิจ และพัฒนาศักยภาพของสตรีซึ่งเป็นผู้ประกอบการทั้งในธุรกิจเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดใหญ่ทั่วอาเซียน ออกมาเติมเต็มกันและกันผ่านเครือข่ายเพื่อยกระดับสถานภาพสตรีในทุก ๆ ด้านในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ของ ประเทศไทย และอาเซียนให้เติบโตไปด้วยกัน

บรรยากาศการประชุมวันแรกจะเป็นการประชุม AWEN Thailand จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “ASEAN Women’s Leadership 4.0 : The New Chapter” (บริบทใหม่ของผู้ประกอบการสตรีไทยสู่ผู้นำสตรีอาเซียน  4.0) เน้นให้ความรู้เกียวกับประชาคมอาเซียนภายใต้หัวข้อ ประชาคมอาเซียน:โอกาสและความท้าทาย รวมทั้งภาพรวมของเศรษฐกิจและภาคธุรกิจของประเทศไทยภายใต้ประชาคมอาเซียนโดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยกลุ่มผู้ประกอบการสตรีไทยตั้งแต่ระดับ SMEs จนถึงระดับบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดทิศทางร่วมกันพร้อมทั้งประกาศเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อน 7 ประเด็นยุทธศาสตร์ เพือพัฒนาบทบาทสตรี เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ AWEN ประกอบด้วย 1.การเจาะตลาดในยุคดิจิทัล 2.การเข้าถึงบริการและวินัยการเงิน 3. การปรับทักษะผู้ประกอบการสตรีสู่อาเซียน 4.0       4.การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง 5. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสตรีในภูมิภาคอาเซียน 6. การผลักดันความเป็นผู้นำในสตรีอาเซียนสู่เวทีโลก 7. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สำหรับการประชุมระหว่างวันที่ 20-21 มิถุนายน 2562 จัดขึ้นโดย AWEN สากล ภายใต้หัวข้อ “Globalization 4.0 and Beyond : Advancing Women Economic Empowerment Through Action and Impact” (พลังสตรีเปลี่ยนโลกเศรษฐกิจ มุ่งขับเคลื่อนก้าวล้ำ... สหัสวรรษ 4.0) ได้รับเกียรติจาก นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานพิธีเปิดการประชุมระดับภูมิภาคของเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล กล่าวเปิดงานว่า การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมครั้งสำคัญของงานประชุมอาเซียนอันเป็นสามเสาหลักที่สำคัญต่อการดำเนินงานของประชาคมอาเซียน ที่เปิดเวทีสำหรับผู้ประกอบการสตรีในภูมิภาคอาเซียนได้แสดงวิสัยทัศน์ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเสนอความคิดริเริ่มในการสนับสนุนธุรกิจและกิจกรรมการค้า เพื่อยกระดับความเสมอภาคระหว่างเพศ เสริมพลังและสร้างความเข้มแข็งในทักษะการเป็นผู้ประกอบการสำหรับสตรีในภูมิภาคอาเซียน

ดร.ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียนเติบโตและมั่นคงอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม เครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียน หรือ AWEN จึงเป็นหนึ่งในช่องทางหลักของผู้นำอาเซียนในการบูรณาการมิติหญิงชาย ภายใต้สามเสาความร่วมมือและผสานความร่วมมือกับองค์กรสตรีในด้านธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงให้การสนับสนุนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรระหว่างผู้ประกอบการสตรี ตลอดจน เสริมสร้างความร่วมมือในการทำงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ในการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างนักธุรกิจและนักวิชาชีพสตรีไทยกับต่างประเทศให้กว้างขวางและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

ภายในการประชุมยังได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากสมาชิกแต่ละประเทศร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและต่อยอดความรู้ใน 7 ยุทธศาสตร์ เพื่อส่งต่อไปยังที่ประชุมอาเซียน อาทิ มาดามงูเยน ธิ เตรียต มิง ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล 2014-2016 ประเทศเวียดนาม, นางจันทร์ธจร วงศ์ไสย ประธานเครือข่ายผู้ประกอบการสตรี ลาว เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเยี่ยมชมการดำเนินธุรกิจของสตรีผู้ประกอบดีเด่นจากประเทศไทยที่ได้รับรางวัลในปีนี้ อาทิ บริษัท นารายา อินเตอร์เทรด จำกัด, นายเลิศ ปาร์ค เฮอริเทจ โฮม, บริษัท แม็คยีนส์ จำกัด และ แบรนด์เครื่องหนังสุวิมล ปิดท้ายด้วยการจัดงานมอบรางวัลเชิดชูเกียรติแก่ผู้ประกอบการสตรีอาเซียนสากล 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน, กัมพูชา, อินโดนีเซีย, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม และไทย รวม 100 คน ที่มีผลงานอันโดดเด่นและประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรม และประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงสังคมส่วนรวม โดยผู้ที่ได้รับรางวัลจะทำหน้าที่ร่วมกันพัฒนา ส่งมอบความรู้ และแลกเปลี่ยนความเข้าใจในการทำงานต่อไปยังเครือข่ายของตนเองเพื่อให้ทุกคนได้รับโอกาสสูงสุด

Comments

Share Tweet Line