ยูโอบีและเดอะฟินแล็บ กับบทบาทพี่เลี้ยง SMEsไทย ด้วยโครงการ Smart Business Transformation

ยูโอบีและเดอะฟินแล็บ กับบทบาทพี่เลี้ยง SMEsไทย ด้วยโครงการ Smart Business Transformation

จากความมุ่งมั่นและตั้งใจที่เต็มเปี่ยมของ SMEs ไทยทั้ง 15 องค์กร ที่ต้องการปรับเปลี่ยนให้เท่าทันการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัล ทำให้พวกเขาเดินหน้าเข้าร่วมโครงการ บ่มเพาะผู้ประกอบการ Smart Business Transformation  ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยธนาคารยูโอบี (ไทย) และเดอะฟินแล็บ ด้วยการเปิดใจที่จะเรียนรู้ทดลองสิ่งใหม่พร้อมความทุ่มเทเต็มที่ทั้งเวลาและกำลังคน ตลอดระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา


ธนาคารยูโอบี (ไทย) และเดอะฟินแล็บสวมบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำแก่ SMEs แปลงเปลี่ยนจากความไม่รู้และความไม่ชัดเจนในโจทย์ของธุรกิจ รู้แต่ว่าต้องการเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลเพื่อรุกตลาดใหม่ๆ เป็นโมเดลธุรกิจและโซลูชันที่ช่วยแก้ pain points และตอบโจทย์ ซึ่งเห็นผลลัพธ์เชิงบวกที่สำคัญในเรื่องประสิทธิภาพการทำธุรกิจที่ดีขึ้น ต้นทุนต่างๆลดลง ที่สำคัญทัศนคติและความคิดดิจิทัลได้เกิดขึ้นในองค์กร

เส้นทางลัดสู่ธุรกิจดิจิทัล

คุณชนกพร ศิระนานนท์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจของ บริษัท เอ็ม.ซี.ซี. 4x4 แอคเซสซอรี่ กล่าวว่า ภายหลังเข้าร่วมโครงการ  เรามีความมั่นใจมากขึ้นในการขับเคลื่อนธุรกิจครอบครัวของเรา ว่าจะสามารถเติบโตรับยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้  ขณะนี้ เราได้มีการประเมินและทดลองใช้ โซลูชันต่างๆ เพื่อมาปรับปรุงระบบหลังบ้านเพื่อให้การทำงานกับบริษัทคู่ค้าต่างๆ ได้เร็วขึ้น  ตอบโจทย์ธุรกิจ B2B2C เพิ่มความคล่องตัวในการสร้างระบบการทำงาน ระหว่างบริษัท และคู่ค้า รวมถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว สามารถค้นหาดีลเลอร์ที่เหมาะสมที่สุดเร็วขึ้นกว่าเดิม และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้มากขึ้นถึง 25%

ภาพประกอบ(1) - การปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์ม  บริหารจัดการธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ของ  เอ็ม.ซี.ซี 4x4 แอคเซสซอรี่

และในกลุ่มของการบริหารจัดการ B2B2C  นั้น บริษัท ทวีโชค พาณิช ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผ่านการรับรอง พร้อมบริการผลิตตามสั่ง อาทิ การตัดตามความยาว การตัดขึ้นรูป และการบีบอัด พบความสำเร็จในการบริหารจัดการ ครอบคลุมไปยังผู้จัดจำหน่าย ผู้ค้าปลีก และผู้ซื้อ ด้วยการนำโซลูชัน  Boostorder มาใช้เชื่อมโยงคู่ค้า และซัพพลายเออร์เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างกระบวนการเชื่อมโยงในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก รวมถึงการทำธุรกิจทางดิจิทัลร่วมกับคู่ค้าอื่นๆในกลุ่มธุรกิจเหล็กได้อย่างดี เช่นเดียวกับ  

คิงด้อม ออร์แกนิค เนทเวิร์ค ผู้จัดจำหน่ายอาหารออร์แกนิกและผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ของตนเองสำหรับผู้บริโภค นอกจากการยืดอายุสินค้าบนชั้นวาง  ยังต้องการพัฒนาระบบรวมศูนย์สำหรับเครือข่ายเกษตรกร ออร์แกนิก เพื่อการป้อนข้อมูลและบริหารขั้นตอนในตารางการผลิตเพื่อให้เกิดการวางแผนการขนส่งที่ดียิ่งขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีในการปรับปรุงกระบวนการบริหารฟาร์มด้วยตัวเองพร้อมกับการสร้างเครือข่ายสำหรับผู้ทำฟาร์ม โดยมีความคาดหวังว่าจะช่วยให้อย่างน้อย 10 ฟาร์มมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น มีแผนที่จะสร้างแพลตฟอร์มบนบล็อคเชนซึ่งจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ การเชื่อมต่อ และติดตามผลการขายได้

ไปได้ไกลทำได้เร็ว

นอกจากนี้เมื่อเจาะไปที่ ภาพของการจัดการด้านการตลาดของ SMEs ในโครงการ นั้น สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน และน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับ SMEs  กลุ่มอื่นที่ยังไม่กล้าลงมือทำได้เร่งการตัดสินใจได้เร็วขึ้น  อีธอสกรุ๊ป  ได้ริเริ่มธุรกิจใหม่ขึ้นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับผิวกายขึ้นภายใต้แบรนด์  “ทรีฮัท ไทยแลนด์” และประเมินว่าด้วยเครื่องมือดิจิทัลนี้ จะลดเวลาในการค้นหาผู้มีอิทธิพลทางการตลาดรายเล็กลงได้ถึง 80%

ภาพประกอบ(2) – แสดงถึงการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงานการตลาดของอีธอส ทำให้ลดการจัดการด้านแคมเปญการตลาดถึง 80% ทีเดียว

นอกจากนี้อีก 2 องค์กร SMEs  ประกอบด้วย นครราชสีมา ฮอนด้า  ออโตโมบิล ยานยนต์  เป็นผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ซีดานฮอนด้ารุ่นใหม่ในจังหวัดนครราชสีมา และแกรนด์ฟูดโปรเซสซิ่ง ผู้ผลิตน้ำผลไม้สดจากผลไม้เขตร้อน ที่ใช้การนำเสนอผลิตภัณฑ์ด้วยระบบออนไลน์โซลูชันมาปรับในกระบวนการนำเสนอ คาดการณ์ว่าจะทำให้ลดเวลาในการสร้างวีดีโอลงได้ถึง  50% ทำให้ไปใช้เวลาในการโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น 

ก้าวที่กล้า ก้าวที่แกร่ง

จากการจัดการที่ทำได้จริง ผสานกับความมั่นใจของ เจ้าของธุรกิจและผู้บริหารเอสเอ็มอีในโครงการ Smart Business Transformation  นายวิศัลย์ วนะศักดิ์ศรีสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอริกซ์ สปอร์ต จำกัด  กล่าวถึงการทำงานร่วมกับ Boostorder และ Anchanto เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มการขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่สามารถเชื่อมลูกค้าไปสู่ร้านว่า “ในฐานะผู้ค้าส่งและค้าปลีกเครื่องแต่งกายกีฬา Warrix มุ่งมั่นที่จะเป็นแบรนด์ที่คนใช้และรู้จักทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โครงการ Smart Business Transformation ช่วยให้บริษัทพัฒนาโครงสร้างการบริหารและปรับขยายขนาดธุรกิจ ซึ่งเพียง 3 เดือนหลังจากดำเนินการเราสามารถบรรลุเป้าการเติบโตยอดขายประจำเดือนที่สูงขึ้นถึง 270% และเราคาดว่ายอดขายจะเพิ่มสูงขึ้น 400% ภายในสิ้นปีนี้ และ ตอนนี้เรายังมั่นใจมากขึ้นในแผนการขยายธุรกิจไปสู่ประเทศอื่นๆ ด้วยแพลตฟอร์มการขายที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเทศแรกที่เราตั้งใจไว้ คือประเทศอินโดนีเซียเราเชื่อว่าจะได้รับประโยชน์จากเครือข่ายที่มั่นคงและแข็งแกร่งของธนาคารยูโอบีในประเทศอินโดนีเซีย”

ภาพประกอบ(3) – ชาร์ตแสดงภาพการจัดการในองค์กรของ  WARRIX ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการขาย 400% ในปี 2019

ขณะเดียวกันการเพิ่มช่องทางใหม่ในการขาย ด้วยเครื่องมือดิจิทัลและโซลูชันที่มีความพร้อมในการใช้งานยังช่วยให้อีก 7 SMEs ที่อยู่ภายในโครงการ ก้าวเดินไปข้างหน้าในธุรกิจของตนเองได้อย่างยั่งยืน ความเห็นของผลสำเร็จเชิงบวกของ เอ ลิทเทิล ลัลลาบาย เจ้าของผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ผลิตจากเยื่อไผ่ภายใต้แบรนด์ Nappi Baby คาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายในช่องทางออนไลน์ที่เติบโตได้ถึง 300%  นางเณริศา อิสรางกูร ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ ลิทเทิล ลัลลาบาย กล่าวว่าหนึ่งในความท้าทายสำคัญ คือ การสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง และคำตอบของ Nappi Baby หลังจากเข้าร่วมโครงการ ชัดเจนขึ้นมากด้วยเครื่องมือดิจิทัลใช้ Offeo สร้างสรรค์วิดีโอเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กบนสื่อโซเชียล ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากขึ้นถึง 20% และเป้าหมายขยายตลาดสู่ประเทศจีนเป็นความมุ่งมั่นใหม่ที่ท้าทายแต่ด้วยคำแนะนำและเครือข่ายของธนาคารยูโอบี และเดอะ ฟินแล็บ โดยการทำงานร่วมกับบริษัท Verihub ในประเทศสิงคโปร์ ทำให้มั่นใจมากขึ้นว่าการก้าวไปสู่ในตลาดใหม่ๆในภูมิภาคจะทำได้อย่างดี มีระบบ” 

ออลเวย์ เวเคชั่น   ธุรกิจท่องเที่ยว ใช้โซลูชันในการสร้างแถบเครื่องมือวิดเจ็ตบนเว็บไซต์ เพื่อเพิ่มการจัดการและชักชวนลูกค้า และเปลี่ยนไปสู่การขาย สามารถจองคิวเพื่อโทรกลับ หรือนัดหมายออนไลน์ได้ โดยคาดว่ายอดขายเพิ่มขึ้น 20%  ด้านนางพฤทธิดา ศรีสันติสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาร์ทตี้ กรุ๊ปส์ จำกัด ภายใต้แบรนด์ อาร์ทตี้ ออกแบบและผลิตเครื่องประดับระดับพรีเมี่ยม ได้ใช้โซลูชันเพื่อการวางแผนบริหารทรัพยากร ซึ่งประหยัดเวลาในการจัดการสินค้าและบริหารสินค้าคงคลังได้ถึง 80% จากเดิมใช้เวลาในการเช็คสต็อก 1 สัปดาห์ แต่เมื่อนำโซลูชัน BizSmart มาใช้งาน สามารถเช็คสต๊อกสินค้าแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียง 2 ชั่วโมง  ขณะที่ อีซี่แพ็ค ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์เกรดอาหารและยา  วางแผนที่จะนำโซลูชันโนโวคอล คลิกเพื่อตอบกลับ มาใช้เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงผู้เข้าชมเว็บให้กลายเป็นลูกค้า โดยคาดว่าจะใช้เวลาการคุยกับลูกค้าลดลง 90%

ฮาโล อินโนเวชั่น นำระบบการสินค้าคงคลังมาใช้ในการบริหารคลังสินค้า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ 40%  เอ็มเอสเอส ไตล์ลิสส์ ผู้ค้าปลีกเสื้อผ้าแฟชั่นทางออนไลน์ ใช้โซลูชันเพื่อการบริหารร้านค้าทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารร้านค้าและรวบรวมสินค้าจาก 20 ร้าน ได้ดีขึ้น 10%  ขณะที่ออกานิก้า เฮ้าส์ ผลิตภัณฑ์สปาและอโรมาเธอราพี ใช้โซลูชันเพื่อการสร้างวิดีโอเพื่อดึงดูดลูกค้าในตลาดโซเชียลโอเรียนสตาร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โลจีสติคส์ ธุรกิจ โลจิสติคส์ / ขนส่ง นำโซลูชันมาใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดเวลาลง 30% ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลดำเนินการได้รวดเร็วมากขึ้น  

ภาพประกอบ (4) – ผังโครงสร้างการวางแผนด้านการตลาด เพื่อเปิดโอกาสการขายไปยังตลาดใหม่ๆ ในระดับภูมิภาค

รับมือยุคดิจิทัล    

เปลี่ยนรูปแบบ วิธีการ เพื่อความยั่งยืน  

จากผลสำรวจพบว่าเอสเอ็มอีในประเทศไทยระบุว่า กลยุทธ์สร้างการเติบโต 2 อันดับแรก คือ การรุกตลาดใหม่ (ร้อยละ 54) และการทำการตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขาย (ร้อยละ51) ถือเป็นความมุ่งมั่นที่ชัดเจน และด้วยเครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ จากการสนับสนุนของ ยูโอบีและเดอะฟินแล็ป จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน มียอดขายที่สูงขึ้น ลดต้นทุนการตลาด เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ยอมรับปรับตัวเองและองค์กรให้ไปสู่ดิจิทัล และมีแรงบันดาลใจในการรุกตลาดใหม่ และขยายธุรกิจออกไปสู่ตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ภาพประกอบ (5-6) -   คุณปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ยูโอบี ไทยแลนด์,  นายเฟลิกซ์ ตัน หัวหน้ากลุ่มงานร่วม เดอะ ฟินแล็บ  และพันธมิตรทางเทคโนโลยีในโครงการ SBTP2019 

คุณปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ยูโอบี มีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะช่วยติดอาวุธและทักษะเอสเอ็มอีไทย ให้สามารถเติบโตได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านโครงการ Smart Business Transformation ที่ได้ดำเนินการร่วมกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็น เดอะ ฟินแล็บ, depa ,  สวทช. และ สสว. และเชื่อว่าผู้ประกอบการจะได้รับความรู้และทักษะดิจิทัลที่จำเป็น รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจได้เติบโตได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านเครือข่ายที่มั่นคงและครอบคลุมทั่วภูมิภาคของกลุ่มธนาคารยูโอบี ที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถขยายธุรกิจไปยังตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ได้อย่างดียิ่ง” 

นายเฟลิกซ์ ตัน หัวหน้ากลุ่มงานร่วม เดอะ ฟินแล็บ กล่าวว่า “เรารู้สึกภูมิใจกับเอสเอ็มอีทั้ง 15 บริษัทที่เข้าร่วมโครงการ Smart Business Transformation ในประเทศไทยอย่างมาก เพราะแม้โครงการ 3 เดือนจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่เรายังเห็นแรงผลักดันและความมุ่งมั่นปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของพวกเขายังคงเดินหน้าต่อไป หลายบริษัทกำลังใช้ดิจิทัลโซลูชันที่เขาได้จับคู่ทดลองใช้ซึ่งพวกเขากำลังเห็นผลลัพธ์ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นยอดขายและจำนวนลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ตลอดจนผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำธุรกิจ ด้วยความร่วมมือของพันธมิตรทุกรายในโครงการ ในการปรับสู่องค์กรดิจิทัล และยกระดับธุรกิจไปสู่สากลต่อไป”

ผ่านพ้นไปแล้วกับก้าวสำคัญครั้งแรกของ โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ Smart Business Transformation   โดยการสนับสนุนของธนาคารยูโอบี (ไทย) พร้อมองค์กรพันธมิตรในการขับเคลื่อนโครงการได้แก่ เดอะ ฟินแล็บ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  ฝากบอกถึง SMEs ไทยที่รอเข้าร่วมโครงการ ที่ตั้งใจปรับเปลี่ยนเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ธุรกิจดิจิทัล   สามารถเข้าไปติดตามกิจกรรมโครงการได้ที่ https://thefinlab.com/thailand-event/พบกันกุมภาพันธ์ นี้ เตรียมตัวกันให้พร้อมได้เลย

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line