ซิกน่า เผย…ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพหลักๆมาจากความเครียดเรื้อรัง

ซิกน่า เผย…ค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพหลักๆมาจากความเครียดเรื้อรัง

ผลวิจัยชี้ชัด ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพมากถึง 18.8% ของประชากรจาก 9 ประเทศ มาจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากปัญหาความเครียดเรื้อรัง


ซิกน่าและทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแห่งภูมิภาคเอเชียเปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรจาก 9 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย มีสาเหตุมาจากความเจ็บป่วยที่เกิดจากปัญหาความเครียดเรื้อรังสูงสุดถึงร้อนละ 18.8 โดยจากการจัดทำรายงานการวิจัยที่มีชื่อว่า “เราสามารถจัดการปัญหาความเครียดเรื้อรังให้หมดไปจากระบบสุขภาพได้จริงหรือ?” มีข้อมูลที่ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของความเครียดที่ส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของประชากรในประเทศ สิงคโปร์, ออสเตรเลีย, ฮ่องกง, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ไทย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อังกฤษ, และสหรัฐอเมริกา

ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการดูแลรักษาสุขภาพของประชากรในแต่ละประเทศมาจากปัญหาความเครียดเรื้อรัง โดยมีการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดจากความเครียดแบบผู้ป่วยในร้อยละ 25 เข้ารับการรักษาในแผนกผู้ป่วยฉุกเฉินร้อยละ 19  เข้ารับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นร้อยละ 35 และเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกอีกร้อยละ 12

ปัญหาความเครียดเรื้อรังส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของประชากรทั่วทุกมุมโลก ผลเสียที่มีต่อสุขภาพจิต เช่น กลุ่มอาการซึมเศร้าและวิตกกังวล ซึ่งอาการเหล่านี้ก็จะส่งผลเกี่ยวเนื่องโดยตรงไปถึงสุขภาพร่างกายด้วย เช่น มีอาการลำไส้แปรปรวน หรือ อาการปวดหลังส่วนล่าง

นอกจากนั้นการวิจัยพฤติกรรมการใช้บริการสถานพยาบาลของผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตซึ่งเป็นผลมาจากความเครียด พบว่าผู้เข้ารับบริการมีปัญหาทางร่างกายที่ไม่สามารถอธิบายที่มาของสาเหตุได้ หรือพบอาการผิดปกติทางร่างกายซึ่งมีผลมาจากความเครียด และผลการวิจัยยังพบว่าการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้มีจำนวนมากขึ้นเช่นเดียวกันกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงขึ้นตามไปด้วย

ปัจจุบัน โรงพยาบาลชั้นนำหันมาใส่ใจในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบมาจากความเครียดมากยิ่งขึ้น แสดงให้เห็นว่าการหันมาดูแลใส่ใจและหาทางป้องกันเป็นสิ๋งจำเป็นที่ทุกคนในสังคมควรให้ความสำคัญ เพื่อที่จะได้สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและลดค่าใช้จ่ายในการรักษา

ดร. ดอน ซู ผู้อำนวยการด้านการแพทย์ของซิกน่า กล่าวว่า “ถึงแม้ว่าทุกคนจะได้พบสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพที่ส่งผลมาจากความเครียดเรื้อรัง แต่หลายคนก็ยังคงเพิกเฉยต่อการรักษาที่ถูกต้อง จนกว่าจะได้พบอาการผิดปกติทางร่างกายจริงๆเสียก่อน ซึ่งสอดคล้องกับความจริงที่ว่าปัญหาด้านสุขภาพจิตของประชากรในหลายๆประเทศยังไม่มีการพูดถึงกันมากนัก มีเพียงการรักษาอาการผิดปกติทางร่างกายเท่านั้นที่สังคมให้การยอมรับ ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่สามารถช่วยให้คนหันมาใส่ใจความเจ็บป่วยซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียด นั่นคือ การเข้าถึงการให้บริการ และความคุ้มครองจากบริษัทประกันในแต่ละประเทศ”

การศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้เปิดเผยให้เห็นถึงมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการเจ็บป่วยจากความเครียด ตั้งแต่ การขาดลางานของพนักงานในองค์กรไปจนถึงการลดลงของรายได้ภาษีของประเทศ ผลการสำรวจของทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแห่งภูมิภาคเอเชียและซิกน่า เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกให้ทราบถึงอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นของผลกระทบด้านสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากความเครียดในระบบสุขภาพ

คุณจูเลียน เมงกัล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของซิกน่าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผู้อำนวยการด้านการดูแลให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศของซิกน่า กล่าวว่า “ซิกน่ามีความใส่ใจถึงผลกระทบที่มีสาเหตุหลักมาจากความเครียด รวมถึงแนะนำวิธีการจัดการและบรรเทาปัญหาเหล่านี้ให้กับทุกๆคน รวมถึงพนักงานในองค์กรของเราด้วย ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดจากทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของเอเชีย รวมทั้งการศึกษาวิจัยค้นพบจากแบบสำรวจคะแนนสุขภาพและความเป็นอยู่แบบ 360 องศาในปีนี้พบว่าร้อยละ 87 ของประชากรโลกนั้นมีความเครียดซึ่งเกิดจากการทำงาน และ ประชากรในภูมิภาคเอเชียมากถึงร้อยละ 12 ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความเครียดเหล่านั้นได้”

จากการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลและจัดการความเครียดของซิกน่า ซิกน่าจึงได้ออกแคมเปญ เผยความเครียดที่มีตัวตน (See Stress Differently) ซึ่งได้มีการร่วมมือกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการพิเศษด้านเทคโนโลยี ออกแบบนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ช่วยทำให้เรามองเห็นผลกระทบของความเครียดที่มีต่อร่างกายและจิตใจของเรา ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยของซิกน่าที่นำเอาข้อมูลจากเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองแบบสวมศีรษะ ข้อมูลจากการตรวจวัดคลื่นหัวใจ และปฏิกิริยาการตอบสนองต่อกระแสไฟฟ้าทางผิวหนัง มาประมวลผลและนำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบผลงานศิลปะ โดยภาพความเครียดของแต่ละบุคคลจะมีความเปลี่ยนแปลงของทั้งรูปทรงและสีสันที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาวะความเครียดในช่วงเวลานั้นๆ นอกจากการนำเสนอภาพความเครียดให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เรายังได้นำเสนอแนวทางในการจัดการและลดระดับความเครียดในแต่ละบุคคล ผ่านแพลตฟอร์มที่เรียกว่า "PLAN" อีกด้วย

REALATED NEWS

Comments

Share Tweet Line